top of page

รายวิชา ง31101 เทคโลโยีสารสนเทศและการสื่อสาร

หน่วยที่ 1 ระบบสารสนเทศ

ประเภทของระบบสารสนเทศ

 

          ระบบสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการดำเนินงานได้ดังนี้

 

          1. ระบบสารสนเทศประมวลผลรายการธุรกรรม (TPS: Transaction Processing System) เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึก และประมวลผลข้อมูลที่เกิดจากการทำธุรกรรม (Transaction) หรือการปฏิบัติงานประจำ (Routine) สนับสนุนการทำงานระดับปฏิบัติการ เช่น การบันทึกรายการประจำวัน รายการสั่งซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบ การฝากถอนเงินจากธนาคาร การสำรองห้องพัก สารสนเทศที่ได้อาจจะยังไม่สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจมากนัก เนื่องจากได้เป็นสารสนเทศที่เป็นรายการจำนวนมาก

 

             ลักษณะเด่นของ TPS

             ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน สิ่งที่ องค์กรจะได้รับเมื่อใช้ระบบนี้ คือ ลดจำนวนพนักงาน องค์กรจะมีการบริการที่สะดวกรวดเร็ว ลูกค้ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

 

             ตัวอย่าง www.cjb.net, www.robinson.co.th

 

          2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS: Management Information System) เป็นการนำข้อมูลจากระบบสารสนเทศประมวลผลรายการธุรกรรมมาประมวลผลเพื่อนำไปใช้ในการควบคุมการทำงานหรือตัดสินใจในระดับปฏิบัติการ สารสนเทศที่ได้จากระบบนี้จะอยู่ในรูปแบบของรายงานสรุปประเภทต่างๆ เช่น

 

            รายงานตามระยะเวลาที่กำหนด เป็นการกำหนดเวลา และรูปแบบไว้ล่วงหน้า อาจจัดทำทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน หรือทุกปี เช่น รายงานยอดขายของพนักงานและรายการชำระเงินให้กับผู้ผลิต

 

            รายงานเมื่อมีเงื่อนไขเฉพาะเกิดขึ้น จัดทำเมื่อมีเงื่อนไขเฉพาะที่ไม่อยู่ในกฎเกณฑ์ของการทำรายงานปกติ เช่น รายงานแสดงสินค้าที่มียอดขายต่ำกว่าที่คาดหวัง                                                      

 

            รายงานตามความต้องการ รายงานประเภทนี้จัดทำเมื่อผู้บริหารต้องการ เช่น รายงานแสดงจำนวนรายชื่อนักเรียนที่มีเกรดเฉลี่ยต่ำกว่า 2.00 เพื่อนำไปใช้จัดกลุ่มการสอนเสริม

 

            ลักษณะเด่นของ MIS

             1. จะสนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลข้อมูลและการจัดเก็บ ข้อมูลรายวัน

             2. จะช่วย ให้ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง เรียกใช้ ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ตามเวลาที่ต้องการ

             3. จะมีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่ เปลี่ยนแปลงไปขององค์กร

             4. ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูล และจำกัดการ ใช้งานของบุคคลเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น  

 

            ตัวอย่าง http://regist.psu.ac.th

 

           3. ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS: Decision Support System) เป็นการรวบรวมข้อมูลจากทั้งภายในและภายนอกองค์กรเพื่อนำมาประมวลผลให้ได้สารสนเทศที่ช่วยผู้บริหารระดับสูงตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เช่น การตัดสินใจเรื่องการคิดโปรโมชันของสินค้าและการตัดสินใจสร้างโรงงานผลิตแห่งใหม่ ระบบสารสนเทศเพื่อการสนับสนุนการตัดสินใจจะสร้างทางเลือกต่างๆ ให้ผู้บริหารตัดสินใจ โดยจะต้องมีความยืดหยุ่นสูง กล่าวคือ ผู้บริหารสามารถปรับเปลี่ยนค่าต่างๆ เองได้ และต้องตอบสนองการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว

 

            ลักษณะเด่นของ DSS

             1. จะช่วย ผู้บริหารในกระบวนการการตัดสินใจ

             2. จะถูกออกแบบมาให้สามารถเรียกใช้ทั้งข้อมูลแบบ กึ่งโครงสร้างและแบบไม่มีโครงสร้าง       

             3. จะต้อง สามารถสนับสนุนผู้ตัดสินใจได้ในทุกระดับ แต่จะเน้น ที่ระดับวางแผนบริหารและวางแผนยุทธศาสตร์                        

             4. มีรูปแบบการใช้งานอเนกประสงค์ มีความ สามารถในการจำลองสถานการณ์ และมีเครื่องมือในการ วิเคราะห์สำหรับช่วยเหลือผู้ทำการตัดสินใจ

 

            ตัวอย่าง  www.sahaconveyor.com

 

           4. ระบบสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง (EIS: Executive Information System) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์ปัญหา ศึกษาแนวโน้มในเรื่องที่สนใจ ส่วนใหญ่จะนำเสนอสารสนเทศในรูปแบบรายงาน ตาราง กราฟ เพื่อสรุปสารสนเทศให้ผู้บริหารเข้าใจง่าย และประหยัดเวลา ข้อมูลที่ใช้มาจากทั้งภายในและภายนอกขององค์กร ตัวอย่างเช่น กราฟแสดงสภาวะทางเศรษฐกิจและกราฟเปรียบเทียบยอดขายกับบริษัทคู่แข่ง

 

            ลักษณะเด่นของ EIS

             1. ไม่จำเป็นต้องมีทักษะทางคอมพิวเตอร์สูง

             2. ระบบสามารถใช้งานได้ง่าย

             3. มีความยืดหยุ่นสูง จะต้องสามารถเข้ากันได้กับรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร

             4.  การใช้งาน ใช้ในการตรวจสอบ ควบคุม

             5. การสนับสนุนการตัดสินใจ ผู้บริหารระดับสูง ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน

             6. การสนับสนุนข้อมูล ทั้งภายในและภายนอกองค์กร

             7. ผลลัพธ์ที่แสดง ตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดีย

             8. การใช้งานกราฟิกสูง จะใช้รูปแบบการนำเสนอต่าง ๆ

             9. ความเร็วในการตอบสนอง จะต้องตอบสนองอย่างรวดเร็ว ทันทีทันใด

             

            ตัวอย่าง   www.thaigoodview.com 

 

           5. ปัญญาประดิษฐ์หรือระบบผู้เชี่ยวชาญ (Artificial Intelligence/Expert System: AI/ES) หมายถึง ระบบที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์กลายเป็นผู้ชำนาญการในสาขาใดสาขาหนึ่ง คอมพิวเตอร์ สามารถวิเคราะห์เหตุผลเพื่อตัดสินใจ ระบบคอมพิวเตอร์นี้ประกอบด้วย ฐานความรู้ (Knowledge Base) และกฎข้อวินิจฉัย (Inference Rule) ซึ่งเป็นความ สามารถเฉพาะที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถตัดสินใจได้เอง

         

            ลักษณะเด่นของ AI/ES

             1. ป้องกันและรักษาความรู้ซึ่งอาจสูญหายไปขณะทำการเรียกข้อมูลหรือการยกเลิกการใช้ข้อมูล การใช้ข้อมูล ตลอดจนการสูญหาย เนื่องจากขาดการเก็บรักษาความรู้ อย่างเป็นระบบ และเป็นระเบียบ แบบแผน

             2. ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System จะจัดเตรียมข้อมูลให้อยู่ในลักษณะที่พร้อมสำหรับนำไปใช้งาน และมักจะถูกพัฒนาให้สามารถตอบสนอง ต่อปัญหาในทันทีที่เกิดความต้องการ

             3. การออกแบบระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System มักจะคำนึงถึงการบันทึกความรู้ในแต่ละสาขาให้เพียงพอและเหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งจะทำให้ ระบบสามารถปฏิบัติงานแทนผู้เชี่ยวชาญ อย่างมีประสิทธิภาพ

             4. ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System จะสามารถตัดสินปัญหาอย่างแน่นอ น เนื่องจากระบบถูกพัฒนาให้สามารถปฏิบัติงานโดยปราศ จากผล กระทบ ทางร่างกายและอารมณ์ที่มีอยู่ในตัวมนุษย์เช่น ความเครียด ความเจ็บ ป่วย เป็นต้น

             5. ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System เป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจ โดยเฉพาะองค์การสมัยใหม่ (Modern Organization) ที่ต้องการ สร้าง ความได้เปรียบในการแข่งขัน เช่น การวิเคราะห์และวางแผนการตลาด การลดต้นทุน การเพิ่มการผลิตภาพ เป็นต้น

 

bottom of page