top of page

รายวิชา ง31101 เทคโลโยีสารสนเทศและการสื่อสาร

น่วยที่ 6 การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ

การเขียนโปรแกรมภาษา 

          การเขียนโปรแกรมภาษา เป็นกระบวนการใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เพื่อกำหนดโครงสร้างของข้อมูลและกำหนดวิธีเพื่อใช้แก้ปัญหาตามที่ออกแบบไว้ โดยอาศัยหลักเกณฑ์การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์แต่ละภาษา โปรแกรมภาษาสามารถใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่นการจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การแก้ปัญหาในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สร้างชิ้นงานเป็นต้น

 

          การเขียนโปรแกรมภาษาเป็นหน้าที่โดยตรงของผู้เขียนโปรแกรม (Programmer) ซึ่งต้องวางแผนการพัฒนาโปรแกรมร่วมกับนักวิเคราะห์ระบบ โดยเมื่อเริ่มต้นพัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้งานในระบบ นักวิเคราะห์ระบบจะทำหน้าที่วิเคราะห์สิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับระบบ เช่นการวิเคราะห์ปัญหาความต้องการ ลักษณะการใช้งาน จากนั้นนำออกแบบเป็นโครงสร้างและการทำงานของโปรแกรม เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วจะส่งมอบไปให้กับผู้เขียนโปรแกรมเพื่อทำการเขียนโปรแกรมต่อไป

 

 ภาษาคอมพิวเตอร์ 

          ความหมายของภาษาคอมพิวเตอร์ 

 

           ภาษาคอมพิวเตอร์ หมายถึง ภาษาที่มนุษย์เราใช้ติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและสามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้ ภาษาคอมพิวเตอร์เริ่มพัฒนามาจากมหาวิทยาลัยหรือในหน่วยงานของรัฐบาลเพื่อใช้ในการทำงาน และเกิดขึ้นเพราะความต้องการด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และงานด้านอื่นๆทำให้มีภาษาคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก จากการที่มีภาษาจำนวนมาก ทำให้ต้องกำหนดระดับของภาษาคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการแบ่งประเภทของภาษา ดังนี้

 

          1. ภาษาเครื่อง เป็นภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจและปฏิบัติตามคำสั่งได้ทันที แต่เป็นภาษาที่มนุษย์เข้าใจยาก คำสั่งแต่ละคำสั่งในภาษาเครื่องจะประกอบด้วยตัวเลขศูนย์และหนึ่งเท่านั้น ซึ่งเป็นตัวเลขในระบบฐานสอง นำมาเรียงต่อกัน

 

          2. ภาษาระดับต่ำ เป็นภาษาที่ปรับปรุงขึ้นมาจากภาษาเครื่อง เพื่อให้ใกล้เคียงกับภาษาของมนุษย์มากขึ้น รวมทั้งให้สะดวกต่อการเขียนชุดคำสั่ง นอกจากนี้ยังมีการใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษมากำหนดเป็นคำสั่งให้เครื่องทำงาน และใช้เป็นตัวแปรแทนตำแหน่งที่เก็บข้อมูลเพื่อให้มนุษย์เข้าใจได้ เรียนว่า นิวมอนิกโคด (newmonic code) เช่น SUB A,B  หมายถึง ให้นำ B ไปลบ A ตัวอย่างภาษาระดับต่ำเช่น ภาษาแอสแซมบลี เป็นภาษาสัญลักษณ์ที่ใช้รหัสและสัญลักษณ์แทนตัวเลขศูนย์และหนึ่งในการเขียนโปรแกรม เป็นต้น

 

         3. ภาษาระดับสูง เป็นภาษาที่พัฒนามาจากภาษาแอสแซมบลี โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ใช้งานและเรียนรู้คำสั่งได้ง่าย สะดวกต่อการเขียนโปรแกรมภาษา ตัวอย่างภาษาระดับสูง เช่น ภาษเบสิก ภาษาซี ภาษาซีพลัสพลัส ภาษาปาสคาล ภาษาโคบอล ภาษาจาวา เป็นต้น

 

 

           ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษา

 

            ภาษาระดับสูงที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษา มีดังนี้

 

            ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) เป็นภาที่เหมาะสำหรับงานด้านคำนวณ เช่นงาน ด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และงานวิจัยต่างๆ

 

            ภาษาโคบอล (COBOL) เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับงานด้านธุรกิจ คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ส่วนมากจะมีโปนแกรมแปลภาโคบอล

 

            ภาษาเบสิก (BASIC) เป็นภาษาที่ใช้สอนการเขียนโปรแกรมแทนภาษาฟอร์แทรน ภาษาเบสิก ง่ายต่อการเขียน และนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาในทุกสาขาวิชา เหมาะสำหรับผู้เริ่มเขียนโปรแกรมใหม่ๆ

 

            ภาษาปาสคาล (PASCAL) เป็นภาษาที่ใช่สอนหลักการเขียนโปรแกรม ช่วยให้เขียนโปรแกรมได้รวดเร็ว แก้ไขปรับปรุงและค้นหาที่ผิดพลาดได้ง่ายและรวดเร็ว เหมาะสำหรับงานด้านธุรกิจ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การควบคุมต่างๆงานกราฟิกภาพและเสียง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

            ภาษาซีและซีพลัสพลัส (C และ C++) ภาษาซีเป็นภาษาที่รวบรวมข้อมูลของภาษาระดับต่ำและภาษาระดับสูงเข้าไว้ด้วยกัน เป็นที่นิยมของนักเขียนโปรแกรม เพราะเป็นภาษาที่มีไวยากรณ์เข้าใจง่าย ประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการทำงานดีกว่าภาษาระดับสูงทั่วไป และความคุมฮาร์ดแวร์ได้มากกว่าภาษาระดับสูงอื่นๆ เหมาะสำหรับใช้พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ และระบบปฏิบัติการเช่น ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ เป็นต้น

 

            ภาษาซีพลัสพลัส เป็นภาษาที่พัฒนามาจากภาษาซี นิยามใช้ในการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object Oriented programming: OOP) ซึ่งเป็นการเขียนโปรแกรมที่มองสิ่งที่เห็นและเกิดขึ้นทุกอย่างเป็นวัตถุที่บอกลักษณะของวัตถุนั้นได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

             ภาษาวิชวลเบสิกและภาษาเดลไฟ (Visual Basic และ Delphi) เป็นภาษาที่ใช้พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ต่างๆด้วยการเขียนโปรแกรมภาษาแบบจินตภาพที่สามารถมองเห็นผลลัพธ์ของงาน เมื่อมีการกระทำการโปรแกรมได้ตั้งแต่ขณะพัฒนาโปรแกรม โดยไม่จำเป็นต้องรอให้การพัฒนาเสร็จสมบูรณ์ โดยตัวแปลภาษาได้เตรียมสิ่งแวดล้อมในการทำงานและเครื่องมือหรือชิ้นส่วนที่ผู้พัฒนาต้องใช้ในการสร้างงานให้เรียกใช้ได้โดยไม่ต้องลงมือสร้างเอง เครื่องมือหรือชิ้นส่วนที่เตรียมไว้ให้ ได้แก่ คอมโพเนนท์(component) ซึ่งอาจเป็นปุ่ม ข้อความ ช่องสำหรับกรอกข้อความหรือรูปภาพ ผู้พัฒนาเพียงกำหนดคุณลักษณะเฉพาะและการกระทำของวัตถุแต่ละชิ้นเพื่อนำมาสร้างโปรแกรมประยุกต์ตามที่ต้องการ

 

              ภาษาเดลไฟนอกจากการจะใช้พัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์ แล้วยังสามารถสร้างซอฟต์แวร์ใช้งานบนอินเทอร์เน็ตได้อีกด้วย

 

              ภาษาจาวา (JAVA) เป็นโปรแกรมภาษาเชิงวัตถุที่พัฒนามาจากภาษาซีพลัสพลัสมีความยืดหยุ่นสูง สามารถเขียนโปรแกรมและใช้งานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภทและระบบปฏิบัติการทุกรูปแบบ รวมถึงการใช้งานบนอินเทอร์เน็ต โทรศัพท์เคลื่อนที่ และปาล์มท็อป

bottom of page