top of page

รายวิชา ง31101 เทคโลโยีสารสนเทศและการสื่อสาร

น่วยที่ 6 การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ

  แก้ปัญหาด้วยกระบวนการ เทคโนโลยีสารสนเทศ

           การแก้ปัญหา

 

            ในชีวิตประจำวันทุกคนต้องเคยพบกับปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาด้านการเรียน ปัญหาการงาน ปัญหาด้านการเงิน เป็นต้น เมื่อพบกับปัญหา แต่ละคน มีวิธีที่จะจัดการหรือแก้ปัญหาเหล่านั้นแตกต่างกันไปตามความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ของบุคคล ซึ่งแต่ละวิธีอาจให้ผลลัพธ์เหมือนหรือแตกต่างกัน แต่ถ้านำวิธีการแก้ปัญหาต่างๆมาศึกษาพิจารณาจะพบว่าหลายวิธีคล้ายคลึงกัน จนสามารถสรุปเป็นทฤษฎีที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ ได้กับหลายๆ ปัญหา

โดยปกติแล้วมนุษย์มีกระบวนการในการแก้ปัญหาด้วยตนเองอยู่เสมอแต่ในบางครั้งต้องอาศัยการเรียนรู้ระดับสูง เพื่อแก้ปัญหาอย่างสมบูรณ์

 

           ให้นักเรียนลองพิจารณาปัญหาและวิธีแก้ปัญหาต่อไปนี้

 

        

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

               การแก้ปัญหาข้างต้น เป็นการแก้ปัญหาโดยวิธีการขจัด ซึ่งนอกจากนี้แล้วยังมีการแก้ปัญหาแบบ ลองผิดลองถูก การใช้เหตุผล และวิธีอื่นๆ อีกมากมายที่สามารถแก้ปัญหาได้ เพียงแต่ต้องรู้จักเลือกใช้ให้เหมาะสมกับปัญหาที่พบ ก็จะสามารถแก้ปัญหาได้สำเร็จลุล่วง ซึ่งการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศก็เป็นอีกหนึ่งในวิธีการแก้ปัญหาซึ่งมนุษย์เลือกใช้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

         ขั้นตอนการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

         การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศมี 4 ขั้นตอน ดังนี้

 

              1. การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา เป็นขั้นตอนแรกของการแก้ปัญหา เพื่อทำความเข้าใจกับปัญหาแยกแยะให้ออกว่าข้อมูลที่กำหนดมาในปัญหา หรือเงื่อนไขตัวแปรคืออะไร สิ่งที่ต้องการคืออะไร รวมไปถึงวิธีการที่ใช้ประมวลผล ซึ่งการวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหามีองค์ประกอบดังนี้

 

               - สิ่งที่โจทย์ต้องการได้แก่ การวิเคราะห์จากโจทย์ว่าสิ่งที่โจทย์ต้องการนั้นคืออะไร สามารถแยกได้ออกมาเป็นรายละเอียดที่ชัดเจน

               - การระบุข้อมูลที่ต้องส่งออก ได้แก่ การพิจารณาเป้าหมายหรือสิ่งที่ต้องหาคำตอบ

               - การระบุข้อมูลนำเข้า ได้แก่การพิจารณาข้อมูลและเงื่อนไขที่กำหนดมาในปัญหา

               - การกำหนดตัวแปร ได้แก่ ตัวเก็บค่าต่างๆในการทำงาน

               - การกำหนดวิธีประมวลผล ได้แก่ การพิจารณาขั้นตอนวิธีการได้มาซึ่งคำตอบ

 

             2. การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอนวิธี เป็นขั้นตอนของการวางแผนในการแก้ปัญหาอย่างละเอียดถี่ถ้วน หลังจากที่เราทำความเข้าใจกับปัญหา โดยพิจารณาข้อมูลและเงื่อนไขที่มีอยู่ และสิ่งที่ต้องการหาจึงจะสามารถคาดคะเนวิธีการที่จะใช้ในการแก้ปัญหา ขั้นตอนนี้จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้แก้ปัญหาเป็นหลัก หากเราเคยพบกับปัญหาทำนองนี้มาแล้ว ก็สามารถดำเนินการตามแนวทางที่เคยปฏิบัติมา

 

           ขั้นตอนนี้จะเริ่มจากการเลือกเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหา โดยพิจารณาความเหมาะสมระหว่างเครื่องมือกับเงื่อนไขต่างๆ ของปัญหาซึ่งหมายรวมถึงความสามารถของเครื่องมือในการแก้ปัญหาดังกล่าว และสิ่งที่สำคัญคือความคุ้นเคยในการใช้งานเครื่องมือที่เลือก เช่นต้องการศึกษาข้อมูลจากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้แก้ปัญหาต้องสามารถใช้ระบบเครือข่ายดังกล่าวได้ นอกจากนี้การแก้ปัญหาควรเขียน ขั้นตอนวิธี (Algorithm) ในการแก้ปัญหา หลังจากที่เราได้เครื่องมือช่วยแก้ปัญหาแล้ว ผู้แก้ปัญหาต้องวางแผนว่าจะใช้เครื่องมือดังกล่าวเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

 

           การเขียนขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหา ผู้แก้ปัญหาควรใช้แผนภาพหรือเครื่องมือในการแสดงขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ เช่น ผังงาน (Flowchart) ที่จำลองขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาในรูปของสัญลักษณ์ รหัสลำลอง (pseudo code) ซึ่งเป็นการจำลองขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาในรูปของคำบรรยาย การใช้เครื่องมือช่วยออกแบบดังกล่าวนอกจากแสดงกระบวนการที่ชัดเจนแล้ว ยังช่วยให้ผู้แก้ปัญหาสามารถหาข้อผิดพลาดของวิธีการที่ใช้ได้ง่ายและแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว

 

              3. การดำเนินการแก้ปัญหา เป็นขั้นตอนแก้ปัญหา โดยใช้เครื่องมือที่ได้เลือกไว้ เช่นคอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำเร็จหรือใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เขียนโปรแกรม ขั้นตอนนี้ต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่เลือกใช้ซึ่งผู้แก้ปัญหาต้องศึกษาให้เข้าใจ มีความรู้ความสามารถในการเขียนโปรแกรมเป็นอย่างดี และในขณะดำเนินการหากพบแนวทางที่ดีกว่าที่ออกแบบไว้ก็สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม

 

              4. การตรวจสอบและปรับปรุง เป็นขั้นตอนการตรวจสอบว่าขั้นตอนวิธีที่สร้างขึ้นสอดคล้องกับรายละเอียดของปัญหา เช่น ข้อมูลรับเข้า ข้อมูลรับออก หรือไม่ เพื่อให้ความมั่นใจได้ว่าสามารถรองรับข้อมูลได้ในทุกกรณีถูกต้องและสมบูรณ์ในขณะเดียวกันต้องปรับปรุงวิธีการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

 

 

1. หวานให้เพื่อนช่วยวาดภาพเสมอ
2. แหวนไม่เคยซื้อเครื่องดนตรีเลย
3. หวังว่ายน้ำไม่เป็น
4. ครูชมเชยแหวนว่าเขียนหนังสือสวย
5. หวานซื้อรองเท้ากีฬาคู่ใหม่

6. แหวนชอบให้หวังร้องเพลงให้ฟัง
7. หวังช่วยหวานถือเครื่องดนตรี
8. หวานไม่มีชุดว่ายน้ำ

 

        มีนักเรียนจำนวน 3 คน คือ หวาน แหวน และหวัง แต่ละคนมีความสามารถอยู่ 2 อย่าง ที่ไม่ซ้ำกัน คือ ว่ายน้ำ วิ่งเร็ว ร้องเพลง วาดภาพ คัดลายมือ เล่นดนตรี ไม่ทราบว่าใครมีความสามารถอะไรบ้าง มีข้อมูลของครูประจำชั้น ดังนี้

 

ฝึกกระบวนการคิด โดยใช้เกมการปัญหา

bottom of page