top of page
ค้นหา

โครงการการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย NSC

  • สุภาภรณ์
  • 11 มิ.ย. 2558
  • ยาว 1 นาที

PosterNSC17-Header.jpg

ระยะเวลาร่วมส่งผลงาน - กันยายน 2558

สนใจติดต่อ : ครูสุภาภรณ์ ธรรมสรางกูร ห้องพักครูคอมพิวเตอร์

หมายเหตุ นักเรียนที่เรียนโครงงานคอมพิวเตอร์ ควรเข้าร่วมส่งผลงานด้วย

หัวข้อการแข่งขัน

หมวด 21 โปรแกรมเพื่อความบันเทิง ได้แก่ โปรแกรมที่สร้างความบันเทิงหรือการฝึกหัดด้วยภาพ เสียง สัมผัส การเคลื่อนที่ และการกระตุ้นการใช้ไหวพริบของผู้เล่น ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวอาจพัฒนาบนระบบปฏิบัติการใดๆ ก็ได้ เช่น ลินุกซ์ หรือวินโดวส์ เป็นต้น หรืออาจจะพัฒนาโดยใช้โปรแกรมช่วยสร้างเกม (Game Engine) เช่น Torque หรือ Ogre 3D ช่วยในการพัฒนาก็ได้ โปรแกรมนี้อาจเป็นโปรแกรมซอฟต์แวร์ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ทั่วไปที่มีเมาส์และคีย์บอร์ดเป็นอุปกรณ์สำหรับการติดต่อ อาทิ โปรแกรมจำลองการขับเครื่องบิน โปรแกรมต่อสู้ตัวต่อตัว โปรแกรมวางแผนการสู้รบ โปรแกรมการสร้างเมือง เกมจำลองสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อสังคม เช่น อุบัติเหตุในท้องถนน ปริมาณน้ำในธรรมชาติ การจัดการพื้นที่ป่าไม้ ปัญหายาเสพติด เป็นต้น มีอุปกรณ์เฉพาะสำหรับการเล่น อาทิ โปรแกรมการเล่นสเก็ตบอร์ดที่มีสเก็ตบอร์ดเป็นอุปกรณ์ต่อพ่วง เป็นต้น หรือเล่นหลายคนบนเครือข่าย อาทิ โปรแกรมสู้รบบนเครือข่าย โปรแกรมจำลองการซื้อขายหุ้น เป็นต้น ทั้งนี้ความคิดสร้างสรรค์และการประยุกต์ใช้วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์นั้นเป็นสิ่งสำคัญ การละเล่นใหม่ๆ อาจเกิดขึ้นได้จากการผสมผสานหลายๆการละเล่นเข้าด้วยกันได้ อาทิ การขับรถชนพินโบวลิ่ง เป็นต้น หรือ โปรแกรมเพื่อผลิตสื่อบันเทิง เช่น เพลง หรือภาพยนตร์ หรือ Animation บนแผ่นซีดีแบบพกพา หรือ การพัฒนาเครื่องมือในการผลิตเกม (Tool หรือ Engine) การผลิต Model หรือ Character ของตนเองในโปรแกรม หมวด 22 โปรแกรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ หมายถึง "โครงการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้โดยจัดทำในรูปโครงงานมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ กล่าวคือ การผลิตชิ้นงาน หรือผลงานที่ประสมประสานข้อมูลที่ประกอบด้วยภาพและข้อความ เสียงและข้อความ ภาพและเสียง หรือทั้ง 3 องค์ประกอบ โดยมีการสื่อสารและการมีปฏิสัมพันธ์ (Communication and Interaction) เป็นส่วนประกอบสำคัญของมัลติมีเดีย นำเสนอบน Web หรือ Cyberlab โดยในการพัฒนาอาจใช้โปรแกรมภาษาใดภาษาหนึ่งที่เหมาะสม" ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้มีการพัฒนาทักษะในการคิด และทักษะในการแก้ปัญหา (Thinking Skill and Problem Solving Skill) และผู้เรียนรู้สึกสนุกกับเนื้อหาบทเรียน โดยอาจทำเป็นภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ การจำลองสถานการณ์ แบบฝึกหัดทดสอบการเรียนรู้ด้วยตนเอง โปรแกรมเพื่อสนับสนุนการสอนวิชาการโดยใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่มีอยู่แล้วและง่ายต่อการใช้งานในการสร้างบทเรียน โปรแกรมสื่อการสอนหรือโปรแกรมที่สร้างสื่อการสอนวิชาการในสาขาต่างๆ บน Linux LiveCD โดยเนื้อหาในการนำเสนอกำหนดให้เป็น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา) คอมพิวเตอร์ ภาษา (ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ) สังคม (แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ศาสนา จริยธรรม และประวัติศาสตร์ไทย) และสอดคล้องกับหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งนี้ โปรแกรมต้องสามารถใช้งานได้จริงบน Learnsquare (http://www.learnsquare.com/) หมวด 23 โปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งาน หมายถึง โปรแกรมช่วยการทำงานด้านคอมพิวเตอร์ทุกชนิด ได้แก่ โมดูลในระบบจัดการการเรียนการสอน โปรแกรมควบคุมในห้องเรียนสำหรับผู้สอน โปรแกรมรักษาความปลอดภัยบนระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย โปรแกรมสำหรับการเตรียมเอกสาร การประมวลผลภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลทางคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ การบีบอัดข้อมูล การเข้าและถอดรหัสข้อมูล การรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย โปรแกรมประยุกต์สำหรับใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตยุคหน้า (IPv6) โปรแกรมเพื่อศึกษาทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ โปรแกรมเพื่อช่วยเหลือผู้พิการ โปรแกรมประยุกต์ใช้ข้อมูลจราจร หรือ โปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้ในการบริการ เป็นต้น ทั้งนี้ความคิดสร้างสรรค์และการประยุกต์ใช้งานได้จริงเป็นสิ่งสำคัญ

รูปแบบการเขียนข้อเสนอโครงงาน

icon-download.jpg

เงินทุนและรางวัล โครงการที่ผ่านการพิจารณาจะได้รับทุนสนับสนุนรวมโครงการละ 12,000 บาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. ผ่านการพิจารณาข้อเสนอโครงการ(รอบแรก) ได้รับทุนสนับสนุนโครงการละ 3,000 บาท 2. ผ่านการพิจารณาผลงานโครงการ (รอบสอง) ได้รับทุนสนับสนุนโครงการละ 9,000 บาท (โดยทีมผู้พัฒนาได้รับ 7,000 บาท และอาจารย์ที่ปรึกษาได้รับ 2,000 บาท)

สำหรับผลงานที่ผ่านการพิจารณาสู่รอบชิงชนะเลิศ จะมีเงินรางวัลพร้อมโล่เกียรติยศ ดังนี้ รางวัลที่ 1 60,000 บาท และถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (เฉพาะประเภทนักเรียน นิสิต นักศึกษา) รางวัลที่ 2 40,000 บาท รางวัลที่ 3 20,000 บาท รางวัลชมเชย ประเภทละ 2 รางวัลๆ ละ 10,000 บาท

เงินรางวัลทุกประเภท จะแบ่งเป็น 2 ส่วน โดยมอบให้ทีมผู้พัฒนา จำนวน 80% และอาจารย์ที่ปรึกษา 20%

สถาบันการศึกษาที่ได้รับรางวัลที่ 1, 2 และ 3 ในแต่ละประเภท จะได้รับโล่รางวัลเกียรติยศจากเนคเทค

ผลงานชนะเลิศและรองชนะเลิศของนักเรียน นิสิต นักศึกษา ทุกประเภทจากการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 17 (NSC 2015) จะได้รับสิทธิ์เข้าสู่รอบสุดท้ายของการแข่งขันรางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ ครั้งที่ 10 จัดโดย มูลนิธิวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศ

รายละเอียดเพิ่มเติม

 
 
 

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Comments


ผลงานนักเรียน

กรุณากลับมาใหม่ภายหลัง
หลังจากที่โพสต์เผยแพร่แล้ว คุณจะเห็นข้อมูลที่นี่

ผลงานนักเรียน

กรุณากลับมาใหม่ภายหลัง
หลังจากที่โพสต์เผยแพร่แล้ว คุณจะเห็นข้อมูลที่นี่
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page