top of page

รายวิชา ง31101 เทคโลโยีสารสนเทศและการสื่อสาร

หน่วยที่ 4 อินเทอร์เน็ต

        การค้นหาข้อมูลความรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

 

         การสืบค้นข้อมูล

          การนำความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต มาประยุกต์ใช้ในการศึกษาหาความรู้ ได้แก่ การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต โดยการใช้งานอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับการศึกษานี้จะสามารถแบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ระดับดังนี้

 

          1. การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต

          2. การนำข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตมาใช้งาน

          3. การสร้างแหล่งข้อมูลด้วยตนเอง

 

         การค้นคว้าด้วยการใช้ Search Engine

          การใช้งานงานอินเทอร์เน็ตที่นิยมใช้กันอย่างมาก จะได้แก่การเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อหาความรู้ แต่การเข้าเยี่ยมชมนั้น ในกรณีที่เรารู้ว่าเว็บไซต์เหล่านั้นมีชื่อว่าอะไร เนื้อหาของเว็บ มุ่งเน้นเกี่ยวกับสิ่งใด เราสาสามารถที่จะเข้าเยี่ยมชมได้ทันที่

Search Engine จะมีหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ผู้ใช้งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้อน คำหรือข้อความของหัวข้อนั้นๆ ลงไปในช่องที่กำหนด คลิกปุ่มค้นหา เท่านั้น ข้อมูลอย่างย่อๆ และรายชื่อเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องจะปรากฏให้เราเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ทันที

 

           Search Engine แต่ละแห่งมีวิธีการและการจัดเก็บฐานข้อมูลที่แตกต่างกันไปตามประเภทของ Search Engine ที่แต่ละเว็บไซต์นำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ดังนั้นการที่จะเข้าไปหาข้อมูลโดยวิธีการ Search นั้น ประเภทของ Search Engine แต่ละประเภทมีความละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลต่างกันไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การค้นคว้าด้วยการใช้ Search Engine

 

            ประเภทของ Search Engine

           1. Keyword Index

            เป็นการค้นหาข้อมูล โดยการค้นจากข้อความในเว็บเพจที่ได้ผ่านการสำรวจมาแล้ว จะอ่านข้อความ ข้อมูล ประมาณ 200-300 ตัวอักษรแรกของเว็บเพจ วิธีการค้นหาของ Search Engine ประเภทนี้จะให้ความสำคัญกับการเรียงลำดับข้อมูลก่อนหลัง  การค้นหาข้อมูล โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร แต่ถ้าต้องการแนวทางด้านกว้างของข้อมูล การค้นหาแบบนี้จะเหมาะสมที่สุด เว็บที่ให้บริการ Search Engine แบบ Keyword Index ได้แก่ http://www.google.com/    http://www.altavista.com/

 

 

      

 

 

 

 

Keyword Index

 

           2. Subject Directories

            การจำแนกหมวดหมู่ข้อมูล Search Engine ประเภทนี้ จะจัดแบ่งโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ของแต่ละเว็บเพจ ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร โดยการจัดแบ่งแบบนี้จะใช้คนพิจารณาเว็บเพจ แต่ละเว็บ แล้วทำการจัดหมวดหมู่ โดยจะขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนจัดหมวดหมู่แต่ละคนว่าจะจัดเก็บข้อมูลนั้นๆ อยู่ในกลุ่มของอะไร ดังนั้นฐานข้อมูลของ Search Engine ประเภทนี้จะถูกจัดแบ่งตามเนื้อหาก่อน แล้วจึงนำมาเป็นฐานข้อมูลในการค้นหาต่อไป เช่น www.thaiwebhunter.com/, http://www.sanook.com

 

 

 

     

 

 

 

 

Subject Directories

 

            3. Metasearch Engines

             Metasearch Engines จะเป็น Search Engine ที่ใช้ในการค้นหาเว็บ ด้วยตัวของ Search Engine แบบ Metasearch Engines เองแล้ว แต่ที่เด่นกว่านั้นคือ Search Engine แบบ Metasearch Engines จะยังสามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่นๆ เพื่อเรียกดูข้อมูลที่ Search Engine อื่นๆ ค้นพบ โดยสังเกตได้จากจะมีคำว่า [Found on Google, Yahoo!] ต่อทางด้านท้าย นั้นก็หมายความว่าการค้นหาข้อความนั้นๆ มาการเชื่อมโดยไปค้นข้อมูลจาก เว็บ Google และ Yahoo

แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษรและมักจะไม่ค้นหาคำประเภท Natural Language (ภาษาพูด) และที่สำคัญ Search Engine แบบ Metasearch Engines ส่วนมากไม่รองรับภาษาไทยhttp://www.dogpile.comhttp://www.kartoo.com/

        

 

 

 

 

 

Metasearch Engines

 

             การค้นหาข้อมูลความรู้โดยใช้ซอฟต์แวร์ค้นผ่านเว็บ (Web browser)

             การสืบค้นแบบใช้คีย์เวิร์ด ใช้ในกรณีที่ต้องการค้นข้อมูลโดยใช้คำที่มีความหมายตรงกับความต้องการ โดยมากจะนิยมใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียงกับเนื้อเรื่องที่จะสืบค้นข้อมูล

 

             การสืบค้นข้อมูล การสืบค้นแบบใช้คีย์เวิร์ด มีวิธีการค้นหาได้ดังนี้

             1. เปิดเว็บเพจ ที่ให้บริการในการสืบค้นข้อมูล โดยพิมพ์ช่องเว็บที่ช่อง Address

 

 

 

 

 

 

 

               www.google.co.th เป็นเว็บที่ใช้สืบค้นข้อมูลของต่างประเทศ ข้อดีคือ ค้นหาง่าย เร็ว

               www.yahoo.com เป็นเว็บที่ใช้สืบค้นที่ดีตัวหนึ่งซึ่งค้นหาข้อมูลง่าย และข้อเด่นคือภายในเว็บของ www.yahoo.com เองจะมีฟรีเว็บไซต์ ที่รู้จักกันในนาม http://www.geocities.com ซึ่งมีจำนวนหลายเว็บ ให้ค้นหาข้อมูลเองโดยเฉพาะ

               www.sanook.com เป็นเว็บของคนไทย

              

 

 

 

 

 

 

 

              2. ที่ช่อง ค้นหา พิมพ์ข้อความต้องการจะค้นหา ในตัวอย่างจะพิมพ์คำว่า วิทยาศาสตร์

              3. คลิกปุ่ม ค้น

              4. จากนั้นจะปรากฏรายชื่อของเว็บที่มีข้อมูล

              5. คลิกเว็บที่จะเรียกดูข้อมูล

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

             หลักการใช้คำในการค้นหาข้อมูล

              การสืบค้นแบบใช้คีย์เวิร์ด เช่น ถ้าต้องการจะสืบค้นเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเครื่องคอมพิวเตอร์ การค้นหาจึงต้องการเนื้อหาที่เจาะลึก การสร้างคำ คีย์เวิร์ด ต้องใช้คำที่เจาะลึกลงไปเพื่อให้ได้ข้องมูลที่เฉพาะคำมากยิ่งขึ้น

 

              1. การใช้คำที่คิดว่าจะมีในเว็บที่ต้องการจะค้นหา เช่น ต้องการจะหาข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่ชื่อว่า นายอุบล ถ้าเราพิมพ์ข้อมูลที่ช่อง Search ว่า อุบล แล้วทำการค้นข้อมูล Search Engine จะทำการค้นหาคำ โดยจะค้นหารวมทั้งคำว่า  จังหวัดลำปาง  คนลำปาง มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง  อาชีวะลำปาง ซึ่งเราจะเจอข้อมูลจำนวนมาก ดังนั้นการใช้คำในการค้นหาข้อมูลจึงต้องใช้คำเฉพาะเพื่อให้ได้ข้อมูลที่น้อยลง เช่น อาจจะพิมพ์คำว่า นางสาวพิมลวรรณ คนลำปาง ซึ่งข้อมูลจะมีจำนวนที่น้อยลง

 

              2. ใช้เครื่องหมาย คำพูด (“_”) เพื่อกำหนดให้เป็นกลุ่มคำ เช่น จะค้นหาคำ ชื่อหนังสื่อที่ชื่อว่า โปรแกรม PhotoShop สังเกตว่าคำที่จะค้นหา จะเป็นคำที่ต้องเว้นวรรค แต่เมื่อมีการสืบค้นด้วย Search Engine ระบบจะค้นหาคำแบ่งเป็นสองคำ คือคำว่า โปรแกรม และคำว่า PhotoShop จึงทำให้ข้อมูลที่ได้ผิดพลาด ดังนั้นการสร้างคำ จึงต้องกำหนดคำด้วยเครื่องหมายคำพูด จึงใช้คำว่า “โปรแกรม PhotoShop” ในการค้นหาแทน

 

              3. ใช้เครื่องหมาย ลบ (-) ไว้หน้าคำที่ไม่ต้องการจะให้ปรากฏอยู่ในรายการแสดงผลของการค้นหา เช่น ต้องการหาชื่อโรงเรียน แต่ทราบแล้วว่าโรงเรียนที่จะค้นหาไม่ใช้โรงเรียนอนุบาล จึงต้องยกเลิกคำว่าอนุบาล โดยพิมพ์คำว่า โรงเรียน -อนุบาล ผลที่ได้จะทำให้มีเฉพาะคำว่า โรงเรียน ทั้งหมดแต่จะค้นหาคำว่า อนุบาล (*การพิมพ์เครื่องหมาย ลบกับคำที่จะยกเลิกต้องติดกัน มิฉะนั้นระบบจะเข้าใจว่าจะค้นหาคำ 3 คำ คือ คำว่า โรงเรียน คำว่า + และคำว่า อนุบาล*)

 

              การสืบค้นข้อมูลภาพ

ในกรณีที่นักเรียนต้องการที่จะค้นหาข้อมูลที่เป็นภาพ เพื่อนำมาประกอบกับรายงาน มีวิธีการค้นหาไฟล์ภาพได้ดังนี้

              1. เปิดเว็บ www.google.co.th

              2. คลิกตัวเลือก รูปภาพ

              3. พิมพ์กลุ่มชื่อภาพที่ต้องการจะค้นหา (ตัวอย่างทดลองหาภาพเกี่ยวกับ เสือ)

              4. คลิกปุ่ม ค้นหา

 

 

 

 

 

 

 

              5. ภาพที่ค้นหาพบ

 

 

 

 

 

 

 

              6. การนำภาพมาใช้งาน ให้คลิกเมาส์ด้านขวาที่ภาพ > Save Picture as

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

              7. กำหนดตำแหน่งที่จะบันทึกที่ช่อง Save in

              8. กำหนดชื่อที่ช่อง File Name

              9. คลิกปุ่ม Save

 

 

 

 

 

 

 

 

             การบันทึก

              หลังจากที่มีการสืบค้นข้อมูล ในกรณีที่ถูกใจเนื้อหาของเว็บที่สืบค้น และต้องการจะเก็บบันทึกข้อมูลที่ค้นพบเก็บไว้ มีวิธีการบันทึกข้อมูลได้หลายวิธี ได้แก่  การบันทึกชื่อเว็บ (Favorites) การบันทึกภาพ (Save as Picture) การบันทึกเนื้อหาที่เป็นตัวอักษร (Copy) การบันทึกเว็บเก็บไว้ (Save as) การบันทึกชื่อเว็บ (Favorites)

 

              การบันทึกชื่อเว็บ (Favorites) ใช้ในกรณีที่เปิดเว็บเพ็จที่น่าสนใจมาศึกษา ในกรณีที่จะกลับมาศึกษาใหม่ในวันต่อไป เราต้องบันทึกชื่อเว็บเก็บไว้ที่ Favorites เพื่อเรียกใช้งานในครั้งต่อไป มีวิธีการกำหนดได้ดังนี้

 

              1. คลิกเมนู Favorites > Add Favorites

              2. กำหนดชื่อที่ช่อง Name

              3. คลิกปุ่ม OK

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

              การเปิดเว็บโดยใช้ Favorites

              หลังจากที่สร้าง Favorites มาแล้ว ในกรณีที่เรียกใช้งาน โดยการเปิดเว็บผ่านทาง Favorites มีวิธีการสร้างได้ดังนี้

              1. คลิกเมนู Favorites > คลิกที่เว็บที่บันทึกเป็น Favorites เก็บไว้  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

               การบันทึกเนื้อหาที่เป็นตัวอักษร (Copy)

               ในกรณีที่ต้องการจะบันทึกเนื้อในส่วนที่เป็นตัวอักษรเก็บไว้เพื่อนำไปประกอบกับรายงาน โดยมีวีการกำหนดได้ดังนี้

 

               1. เปิดเว็บที่ต้องการจะบันทึกเนื้อหา  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

               2. ป้ายดำเลือกข้อความที่จะบันทึกเก็บไว้

               3. คลิกเมาส์ด้านขวาที่ตัวอักษร คลิกคำสั่ง Copy

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

               4. จากนั้นเปิดโปรแกรมบันทึกตัวอักษร โดยคลิกปุ่ม Start > Program > Accessories > Notepad

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                5. นำตัวอักษรที่คัดลอกเก็บไว้มาวาง โดยคลิกเมนู Edit > Paste

 

 

 

 

 

 

 

 

              6. จากนั้นบันทึกไฟล์เก็บไว้ โดยคลิกเมนู File > Save

              7. กำหนดตำแหน่งในการบันทึกภาพที่ช่อง Save in

              8. กำหนดชื่อที่ช่อง File Name

              9. คลิกปุ่ม Save

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

             โดเมนเนม (Domain name)

             โดเมนเนม หมายถึง ชื่อเว็บไซต์ ชื่อบล็อก ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งขึ้น เพื่อให้จดจำได้ง่าย เกิดจากการแปลงหมายเลขไอพีซึ่งประกอบไปด้วย ไอพีสาธารณะ (Public) และไอพีส่วนบุคคล (Private) ให้กลายเป็นชื่อโดเมน โดยโดเมนสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

             1. โดเมน 2 ระดับ เป็นโดเมนที่มีส่วนประกอบ 2 ส่วนหลัก คือ ชื่อโดเมนและประเภทของโดเมน เช่น Wikipedia.org เป็นต้น

             

             ประเภทของโดเมน 2 ระดับ

                1) .com บริษัทหรือองค์กรพาณิชย์

                2) .org องค์กรเอกชนไม่แสวงหาผลกำไร

                3) .net องค์กรที่เป็นเกตเวย์ หรือจุดเชื่อมต่อเครือข่าย

                4) .edu สถาบันการศึกษา

                5) .gov องค์กรทานทหาร

             2. โดเมน 3 ระดับ เป็นโดเมนที่มีส่วนประกอบ 3 ส่วนหลัก คือ ชื่อโดเมน,ประเภทโดเมน และประเทศ เช่น google.co.th เป็นต้น

ประเภทของโดเมน 3 ระดับ

                1) .co บริษัทหรือองค์กรพาณิชย์

                2) .ac สถาบันการศึกษา

                3) .go องค์กรรัฐบาล

                4) .net องค์กรให้บริการเครือข่าย

                5) .or องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร

 

bottom of page